On-Page SEO Checklist
แนะนำให้ติดตั้ง Plugin ที่ชื่อว่า Yoast SEO หรือ Rank Math เพื่อความสะดวกและประสิทธิภาพที่จะช่วยให้ท่านทำตาม Checklist นี้ได้มากที่สุด
โดยสามารถใช้ตัวฟรีก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการทำ SEO ภาษาไทยแล้ว เนื่องจากหลายๆฟังก์ชั่นของ Premium ของ Plugin Yoast จะเหมาะและใช้ได้ผลกับภาษาอังกฤษ
1) Title ตรงนี้ไม่ใช่ Title ที่เป็นชื่อบทความนะครับ แต่มันคือ Title ที่จะแสดงให้ Search Engine เห็นครับ
แต่ถ้าเป็นหน้าประเภท Post ก็ควรเขียนให้เหมือนกัน
ถ้าเป็นหน้าประเภท Page ก็เขียนให้แตกต่างกัน เขียน Title ใน Plugin Yoast อีกแบบเพื่อคะแนน Search Engine และเขียน Title Page อีกแบบเพื่อกลุ่มเป้าหมาย/เพื่อ Conversions
ควรต้องมี Keyword หลัก ใน Title ถ้าจะให้ดี Keyword หลัก ควรอยู่ตำแหน่งแรกสุด
ส่วนความยาว หากใช้ Plugin Yoast ก็เขียนให้ได้แถบสีเขียว และเขียนให้แถบสีเขียวมันเกือบเต็ม แต่อย่าเขียนจนแถบสีเขียวมันเต็ม ไม่งั้นจะกลายเป็นยาวเกินไป เพราะคำภาษาไทยไม่เหมือนภาษาอังกฤษ อย่างที่บอก ว่า Yoast ยังทำงานได้ดีในภาษาอังกฤษอยู่ มันยังไม่เข้าใจภาษาไทยเท่าที่ควร
2) มี Keyword หลักอยู่ในย่อหน้าแรกเสมอ และถ้าจะให้ดี ให้ Keyword หลักอยู่ในตำแหน่งบริเวณต้นๆ หรือกลางๆ
3) มี Keyword หลักอยู่ใน Meta Description ด้วย
และตำแหน่งของ Keyword หลักก็ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งเดียวกันกับ Title
เช่น หาก Title มี Keyword หลักอยู่ในตำแหน่งแรก ดังนั้น Keyword หลัก ใน Meta Description ก็ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งแรก ให้วางไว้ในตำแหน่งกลางๆแทน
และข้อความใน Meta Description ก็ไม่ควรมีซ้ำกับ Title ไม่งั้นจะกลายเป็นสแปม
ส่วนความยาว หากใช้ Plugin Yoast ช่วย ก็ควรเขียนให้ได้แถบสีเขียว และควรเขียนให้แถบสีเขียวมันเกือบเต็ม แต่อย่าเขียนจนแถบสีเขียวมันเต็ม หลักการเดียวกับการเขียน Title
4) Featured Image(ภาพปก) ใส่ Alt Text ในภาพหน้าปกด้วย โดยให้ใส่เป็น Keyword หลักคำเดียวก็พอ ไม่ควรใส่หลายคำ เพราะถ้าใส่หลายคำจะกลายเป็นสแปม และไม่ควรใส่เป็นประโยคยาวๆเช่นกัน
5) หัวข้อประเภท H1 ให้มี Keyword หลักอยู่ด้วย ซึ่งหัวข้อประเภท H1 นี้ก็คือชื่อบทความนั่นเอง เพราะโดยปกติแล้วชื่อบทความจะเป็น H1 อยู่แล้ว
6) ควรมีหัวข้อประเภท H2 อยู่ในเนื้อหาบทความ และมี Keyword หลักอยู่ในหัวข้อนั้นด้วย
มี 1-2 หัวข้อ ไม่ควรมากเกินนี้ ไม่งั้นจะเป็นแสปมได้
7) ในเนื้อหาบทความ ให้ใช้หัวข้อหลากหลายระดับ เช่น H2, H3, H4
และต้องมีอย่างน้อย 3 ระดับขึ้นไป โดยกระจายไปตามหัวข้อย่อย
8) ในหัวข้อย่อย ให้มี Keyword ที่ใกล้เคียงกับ Keyword หลัก ซึ่งก็คือ Relate Keywords นั่นเอง
และไม่ควรมีคำที่เหมือนกันซ้ำกันมาก ไม่งั้นจะกลายเป็นแสปม
เช่น สมมุติว่า Keyword หลักคือคำว่า “กระเป๋าสตางค์ผู้ชาย”
และ Relate Keywords ที่หาได้ มี
กระเป๋าสตางค์ผู้ชายยี่ห้อไหนดีกระเป๋าสตางค์ผู้ชายbottegaกระเป๋าสตางค์ผู้ชายแบรนด์ไทยกระเป๋าสตางค์ผู้ชายlacosteกระเป๋าสตางค์ผู้ชายโรบินสันกระเป๋าสตางค์ผู้ชายdevyกระเป๋าสตางค์ผู้ชายpantip 2020กระเป๋าสตางค์ผู้ชายcoach แท้
ในกรณีที่ Relate Keywords มีคำที่เหมือนกับ Keyword หลักเยอะแบบนี้ ให้เลือกเอาคำที่อยู่หลัง Keyword หลักมาเขียนประกอบในหัวข้อย่อย ก็เลือกเอาคำที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ
ไม่ควรดึงเอามาทั้ง Keyword ของ Realate Keywords มา ไม่งั้นจะกลายเป็นสแปมได้
9) ถ้าเนื้อหาบทความไหนที่มีความยาวมากๆ และมีหลากหลายหัวข้อย่อยที่เอื้อต่อการมีสารบัญ ก็ให้ใส่สารบัญในทุกๆบทความด้วย
และควรมีอย่างน้อย 4 หัวข้อขึ้นไป เพราะทาง Google จะถือเกณฑ์ที่ว่า ต้องมีอย่างน้อย 4 หัวข้อย่อยขึ้นไปในสารบัญ จึงจะถือว่านั่นคือสารบัญ
สาบัญในที่นี้ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นรูปแบบตัวหนังสือวางเรียงกันลงมาเหมือนสารบัญจริงๆ (ในกรณีนี้ก็จะใช้กับเนื้อหาประเภทบทความได้เลย)
แต่ยังนับรวมถึงพวกปุ่มต่างๆที่กดแล้วมัน Scroll ไปยังจุดนั้นๆในหน้าเดียวกันด้วย (ในกรณีนี้ก็จะใช้กับเนื้อหาประเภท Page ต่างๆ)
10) URL Friendly
ถ้าจะให้ดี URL ควรเป็นภาษาอังกฤษ เพราะดูดีเวลาที่เอาลิ้งค์ไปวางตาม Social ต่างๆ(หรือเวลาส่งลิ้งค์ให้คนอื่นตามช่องทางต่างๆ) ถ้าเป็นภาษาไทย เวลาเอาลิ้งค์ไปวางตาม Social (หรือตามช่องทางต่างๆ) มันจะเป็นลิ้งค์ยาวมากๆ และจะเป็นภาษาต่างดาว
URL ก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญในแง่ของ User Friendly หากคนที่รับได้ลิ้งค์ที่ยาวมากๆและเป็นภาษาต่างดาวอ่านไม่รู้เรื่อง เค้าก็คงไม่กล้ากดเข้าไปดู ซึ่งก็จะทำให้โอกาสในการได้รับ Traffic คนเข้าเว็บเราที่น้อยลงไปอีก และ Traffic ก็คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญของ SEO เลยทีเดียว
11) จำนวนคำในบทความ เขียนให้สอดคล้องกับคู่แข่งใน 10 อันดับแรก(ในหน้าแรก)
ให้ดูว่าบทความของบรรดาคู่แข่งมีกี่คำ แล้วจากนั้นก็เขียนจำนวนคำให้เท่ากับค่าเฉลี่ยของคู่แข่ง แล้วบวกไปอีกประมาณ 400-500 คำ
เช่น จำนวนคำในบทความของคู่แข่งในหน้าแรก เฉลี่ยอยู่ที่ 1,500 คำ เราก็ต้องเขียนบทความให้ได้ประมาณ 1,900 – 2,000 คำ
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเขียนให้ยาวเท่ากับ(หรือมากกว่า) คำสูงสุดในบรรดาคู่แข่ง เพราะจะกลายเป็นเสียแรงเสียเวลามาเกินไป และความยาวของเนื้อหา/บทความ เป็นเพียงหนึ่งในหลายร้อยปัจจัยของ SEO เท่านั้น เพราะฉะนั้นให้เขียนให้ใก้ลเคียงกับคู่แข่งในหน้าแรกก็เป็นอันใช้ได้แล้ว
แนะนำเครื่องมือที่ช่วยดูว่า บรรดาคู่แข่งในหน้าแรกของ Keywords คำนั้นๆ มีจำนวนคำในเนื้อหา/บทความ กี่คำ
เครื่องมือตัวนั้นก็คือ Keyword Surfer ของ Surfer SEO
เป็น Chrome Extension ที่ดีและฟรี และไม่ได้แค่ช่วยหาจำนวนคำในเนื้อหาบทความของคู่แข่งเท่านั้น ยังสามารถแนะนำ Keywords ใกล้เคียง พร้อมกับบอกจำนวน Search Volume ของทุก Keywords รวมไปถึงข้อมูลอื่นๆอีกเยอะแยะมากมาย
เวลาใช้เวลา ข้อมูลต่างๆจะแสดงบริเวณขวามือของหน้าผลเสิร์ชนะครับ
ปล. ฟีเจอร์ที่หาจำนวนคำในเนื้อหาในหน้าแรกนี้ ดูเหมือนจะยังทำงานได้ไม่ดีพอ เพราะเครื่องมือตัวนี้มันหาได้ไม่ครบทุกหน้า จะสังเกตุว่า บางหน้าก็แสดงตัวเลขเป็น 0 คำ ทั้งๆที่ในหน้านั้นก็มีเนื้อหาตัวหนังสือเต็มหน้าเลย เพราะฉะนั้น สำหรับหน้าที่มันไม่แสดงตัวเลขจำนวนคำ เราก็ต้อง Manual นับด้วยตัวเองครับ
12) หัวข้อย่อยที่ไม่สำคัญ (เช่น คำถามที่พบบ่อย, Testimonial) ให้ใช้หัวข้อประเภท H4-H6
เนื่องจากหัวข้อประเภทใหญ่ (H1-H3) เราจะใช้ในหัวข้อที่มีความสำคัญ ก็ให้จัดเรียงลำดับความสำคัญของแต่ละหัวข้อ
13) รูปภาพที่อยู่ในเนื้อหาบทความ ควรมี Alt text ทุกรูป และให้ตั้งเป็น Keyword ใกล้เคียง(เพราะ Keyword หลักตั้งเป็น Alt text ใน Featured image ไปแล้ว)
หากมีหลายรูป คำ Alt text ก็ต้องไม่ซ้ำกัน ดังนั้น ให้ใช้ Keywords ใกล้เคียง(Relate Keywords)
หลักการคือ ไม่ควรใช้ Alt text ที่ซ้ำกัน เพราะมันจะกลายเป็นสแปม และควรใช้ Alt text คำเดียวก็พอ ไม่ควรใส่หลายๆ Keywords และไม่ควรใส่เป็นประโยคยาวๆ
14) ชื่อไฟล์รูปภาพ(ที่ตั้งชื่อตั้งแต่อยู่ในคอมของเรา) ให้ตั้งเป็นภาษาอังกฤษ เพราะมันจะได้ไม่ซ้ำกับ Alt text ที่จะตั้งอีกทีเวลาอัพขึ้นเว็บ
ชื่อไฟล์รูปภาพจะตั้งเป็นคำอะไรก็ได้ที่สื่อความหมายถึงรูปภาพนั้นๆ และหากมีหลายรูป ก็ไม่ควรตั้งชื่อที่ซ้ำกัน(เช่น image1, image2, image3, image4 แบบนี้ไม่ควรตั้ง) เพราะจะกลายเป็นแสปม และหากต้องมีการเว้นวรรค ก็ให้ใช้การเว้นวรรคไปเลย หรือใช้เครื่องหมายขีดกลาง “-“ ก็ได้ แต่ไม่ควรใช้เครื่องหมาย “_”(Underscore)
15) ขนาด File size ของรูปภาพที่ดี ไม่ควรเกิน 100 KB วิธีลดขนาดของรูปคือ ให้ลดคุณภาพความคมชัดลงมา ให้ลดลงมาเท่าที่ความชัดเวลาดูจริงไม่ต่างกับต้นฉบับมากนัก
จากนั้นให้ทำการบีบอัดไฟล์รูป โดยใช้เครื่องมือ TinyPNG เป็นตัวบีบอัดไฟล์รูปฟรี และดีมีคุณภาพโดยที่ความคมชัดของรูปแทบไม่ตกลงเลย
หรือจะใช้ Plugin ที่ช่วยบีบอัดไฟล์รูปทีละหลายๆรูปก็ได้ เช่น Imagify, Shortpixel ทั้ง 2 ตัวมีแพคเกจฟรีให้ใช้ หากรูปไม่เยอะมาก แค่ตัวฟรีก็เพียงพอแล้ว แต่หากมีรูปเยอะ ค่าบริการของเค้าก็ไม่แพงเช่นกันครับ
16) ขนาด กว้างxยาว ของรูปภาพ ควรให้พอดีเหมาะสมกับขนาดพื้นที่ในเว็บที่รูปนั้นๆจะไปแสดง
วิธีหาค่า กว้างxยาว ของพื้นที่ๆรูปภาพนั้นๆวางอยู่ ดูตามรูปด้านล่างได้เลยครับ
ขั้นตอนคือ ให้คลิกขวาที่รูปที่ต้องการจะหาค่า กว้างxยาว จากนั้นคลิกคำว่า inspect
จากนั้นจะมีหน้าต่าง Developer เล็กๆขึ้นมาข้างขวา ก็ต้องดึงหน้าต่างนั้นออกมาก่อนโดยการกดที่จุด 3 จุดตรงมุมขวาบน แล้วเลือกกดตามในรูปในขั้นตอนที่ 2
จากนั้นก็กดตรงรูปลูกศรตรงมุมซ้ายบนของหน้าต่าง Developer เสร็จแล้วก็เอาเม้าส์ไปชี้ที่รูปที่ต้องการหาค่า กว้างxยาว ได้เลยครับ
ปล. วิธีนี้ใช้สำหรับรูปที่ไม่ใช่เนื้อหาประเภท Dynamic นะครับ หากส่วนไหนที่เป็นเนื้อหาประเภท Dynamic ก็ไม่ต้องไปวัดค่าครับ
ปล.2 สำหรับรูปปกบทความควรใช้ขนาด กว้างxยาว = 1200×630 px เนื่องจากเป็นขนาดที่เหมาะสมกับทั้งในเว็บและเหมาะสมในพื้นที่ของ Facebook (เวลาที่เอาลิ้งค์บทความไปแชร์ลง Facebook)
ปล.3 สำหรับรูปปกของสินค้าในระบบ Woocommerce ควรใช้ขนาด กว้างxยาว ตั้งแต่ 600×600 px , 700×700 px , 800×800 px เลือกใช้ขนาดเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับสินค้าของท่านว่าจำเป็นต้องมีความคมชัดขนาดไหน หากเป็นสินค้าแนวแฟชั่น/ความสวยความงาม ก็ควรเลือกใช้ขนาด 800×800 px
17) นามสกุลไฟล์รูปภาพ ให้ใช้ JPEG, JPG ไม่ควรใช้ PNG ยกเว้นเป็นภาพที่มีพื้นหลังโปร่งใส
แต่ถ้าจะให้ดี ให้ใช้ไฟล์ประเภท WebP จะดีที่สุด
สามารถใช้ Plugins ช่วยแปลงนามสกุลไฟล์รูปภาพให้เป็น WebP เช่น Imagify, ShortPixel
เครื่องมือ 2 ตัวนี้ยังสามารถบีบอัดไฟล์รูปให้ได้อีกด้วย
18) มี Internal Link (ลิ้งค์ที่เชื่อมไปยังบทความอื่นๆในเว็บของเราเอง) ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ อย่างน้อย 1 ลิ้งค์ และควรตั้งค่าเป็น Open same window
19) มี External Link (ลิ้งค์ที่เชื่อมไปยังเว็บข้างนอก และควรเป็นเว็บที่มีความน่าเชื่อถือสูง) ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ อย่างน้อย 1 ลิ้งค์ และตั้งค่าเป็น Open new window
20) ให้มี Keywords ใกล้เคียง(Relate keywords) กระจายอยู่ในบทความด้วย
วิธีหา Keyword ใกล้เคียงที่เกี่ยวข้อง มีอยู่หลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายและฟรีแถมมีประสิทธิภาพ ก็คือให้ดูตรงข้างล่างสุดของหน้า Search result ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง เพราะ Keywords พวกนี้เป็นคีย์ที่ทาง Google แนะนำมาให้เองเลยว่ามีความเกี่ยวข้องกับ Keyword หลักที่ค้นหาอยู่ หรือจะใช้ Chrome Extension ที่ชื่อว่า Keyword Surfer ของ Sufer SEO ก็ได้เช่นเดียวกัน ข้อมูลจะแสดงตรงบริเวณซ้ายมือของหน้า Search result
Keywords ใก้ลเคียงที่เกี่ยวข้อง มียิ่งเยอะยิ่งดี แต่ก็ต้องอ่านรู้เรื่องด้วย และไม่ควรเป็น Keywords ที่มีคำซ้ำกัน
ยกตัวอย่างสมมุติว่า Keyword หลักคือคำว่า “นาฬิกาผู้ชาย” และ Keywords ใกล้เคียงมีคำว่า
นาฬิกาผู้ชาย2021นาฬิกาผู้ชายcasio ของแท้นาฬิกาผู้ชายrolexนาฬิกาผู้ชายของแท้นาฬิกาผู้ชายสายเหล็ก 2020นาฬิกาผู้ชายแบรนด์นาฬิกาผู้ชายวัยทํางานนาฬิกาผู้ชาย2020
ในกรณีที่ Relate Keywords มีคำที่เหมือนกับ Keyword หลักเยอะแบบนี้ ให้เลือกเอาคำที่อยู่หลัง Keyword หลักมาเขียนประกอบในหัวข้อย่อย ก็เลือกเอาคำที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหน้านั้นๆ
ไม่ควรดึงเอามาทั้ง Keyword ของ Realate Keywords มา ไม่งั้นจะกลายเป็นสแปมได้
21) เขียนให้ได้รูปแบบ Featured Snippet สำหรับบทความที่มีคำที่ต้องอธิบายความหมาย วิธีทำง่ายๆโดยให้ใส่คำว่า “คือ” ต่อท้ายคำที่ต้องการอธิบาย เหมือนตัวอย่างในรูปด้านล่าง
22) ใช้หลากหลาย Format หลากหลายรูปแบบในการเขียน เช่น มีตัวหนา ตัวเอียง ขีดเส้นใต้ ใส่สีตัวอักษร รวมไปถึง Bullet ที่เรียงต่อกันลงมา ตามรูปตัวอย่างด้านล่าง
23) ความยาวของแต่ละย่อหน้า ควรอยู่ที่ประมาณ 3-5 บรรทัด(ในเวอร์ชั่น Desktop) เพื่อง่ายต่อการอ่าน จะได้คะแนนทั้งในส่วนของ User Friendly และได้คะแนนในสายตาของ Search Engine ด้วย
24) Videos, Sound(Audio), Google Map สิ่งเหล่านี้หากสามารถใส่ได้ก็ควรใส่ หากใส่ได้จะดีมาก สิ่งเหล่านี้จะเป็นเหมือนตัวนำส่งให้ Bot ของ Search Engine เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บของเราได้ง่ายยิ่งขึ้น
25) มี CTA(Call To Action) เสมอในทุกๆหน้า
มันคือสิ่งที่บอกให้ผู้เข้าชมเว็บให้ทำอะไรสักอย่าง เช่น บอกให้เค้าสั่งซื้อสินค้า/บริการ, กรอกข้อมูล, อ่านบทความอื่นๆที่เกี่ยวข้องในเว็บ, ติดต่อสอบถามรายละเอียดสินค้า/บริการ
โดยจะวางเป็นรูปแบบฟอร์มสั่งซื้อ/ฟอร์มกรอกข้อมูล/ฟอร์มติดต่อ ก็ได้ หรือจะวางเป็นรูปแบบปุ่มพร้อมหัวข้อโน้มน้าวให้คลิกปุ่มเพื่อไปยังหน้า Landing Page/Sale Page ก็ได้
และในส่วนของ CTA(Call To Action) นี้ก็ควรทำให้มันสะดุดตาด้วย เช่น การใส่สี Background ของส่วน CTA ให้มันแตกต่างสะดุดตาจากหน้าเนื้อหาปกติ หรือการใส่กรอบให้กับพื้นที่ในส่วน CTA
สำหรับตำแหน่งการวาง CTA นี้ จะวางไว้ตำแหน่งไหนของเนื้อหาบทความก็ได้
26) ให้มีย่อหน้าสรุปเป็นย่อหน้าสุดท้ายของบทความ และให้ใส่หัวข้อคำว่า “สรุป” โดยให้ใช้หัวข้อประเภท H2
หากใส่คำอื่นนอกเหนือจากคำว่า “สรุป” ระบบ Search Engine จะไม่เข้าใจ เนื่องจากเป็นคำภาษาไทย และคำภาษาไทยมีหลากหลายคำหลากหลายความหมาย เพราะฉะนั้นใช้คำว่า “สรุป” ที่เป็นคำหลักเข้าใจง่ายๆความหมายตามตัว จะดีที่สุด
27) ควรตั้งค่า Social Markup ในทุกหน้า
มันคือการตั้งค่ารูปปก, Title, Description สำหรับในกรณีที่แชร์ลิ้งค์บทความไปยัง Social ต่างๆ เช่น Facebook
สำหรับ Social เหล่านี้ สามารถใช้รูปปก, Title, Description เดียวกันกับที่ตั้งค่าให้แสดงใน Search Engine ได้เช่นกันไม่มีปัญหา
แต่สำหรับ Feature Image(รูปหน้าปกบทความ) ต้องใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละแหล่งด้วย เช่น รูปหน้าปกสำหรับเว็บ กับรูปหน้าปกสำหรับ Social ต่างๆ มักจะแตกต่างกันในเรื่องขอขนาด กว้างxยาว ถ้าสำหรับ Facebook คือ 1200×630 px ซึ่งหาก Theme ที่ท่านใช้ ขนาดรูปปกไม่ใช่ขนาด 1200×630 px นั้น ก็จะต้องทำรูปออกมา 2 ขนาด
นั่นก็เพราะ Theme แต่ละตัวนั้น จะมีโครงสร้างที่แตกต่างกันไป
ท่านสามารถส่ง Checklist นี้ไปให้กับทีมทำ Content ของท่านได้ครับ ไม่จำเป็นต้องทำให้ได้ครบทุกข้อก็ได้ครับ ทำให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็พอครับ